วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน จัดเรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ
9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต
10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิงร่าเริง
11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (จิตมีสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่นมีสมาธิด้วยอำนาจของ สมาธิสัมโพชฌงค์ )
12.หายใจเข้า-ออก จักเปลื้องจิต ก็รู้ (จิตปลดเปลื้องในจากกิเลสอารมณ์ต่างๆมี อภิชฌาและปฏิฆะ เป็นต้น จิตเป็นอุเบกขา ด้วยอำนาจของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน


กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน



... ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

อานาปานสติ


อานาปานสติ


อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับคนทุกคน และเลือกได้หลากหลาย มีความลึกซึ้งมาก
... อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ...
อานาปานสติ (อานะ หายใจออก - ปานะ หายใจเข้า - สะติ ความระลึก ) มีอยู่ 16 คู่ คือ
... ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้ บริบูรณ์ได้...

มรณานุสติกรรมฐาน




มรณานุสติกรรมฐาน
นึกถึงความตายมีประโยชน์         ประโยชน์ของการนึกถึงความตาย ทำให้เป็นคนไม่ประมาท เพราะรู้ตัวว่าจะตายจะได้
แสวงหาความดีใส่ตัวโดยรู้ตัวว่า ชาตินี้จนเพราะชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ถ้าชาติหน้าไม่ยากจนอีก ก็
พยายามให้ทานเสมอ ๆ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะให้ได้ และอย่าให้จนหมดตัว จะเกินพอดี ต้องให้พอ
เหมาะพอดี ไม่เดือดร้อนภายหลังนั่นแหละจึงจะควร
         รู้ตัวว่ามีโรคมาก ป่วยไข้ไม่สบายเสมอๆ ของหายบ่อย ๆ รูปร่างสวยน้อยไปคนในบังคับ
บัญชาดื้อด้าน วาจาไม่ศักดิ์สิทธิ์ อารมณ์ความจำเสื่อม ถ้าต้องการให้สิ่งบกพร่องเหล่านี้สมบูรณ์ใน
ชาติหน้าจะได้พยายามรักษาศีล ๕ให้บริสุทธิ์ครบถ้วนแล้ว ก็จะได้รับอานิสงส์ มีอายุยืน รูปสวย ไม่มี
โรคภัยรบกวน ไม่มีภัยจากโจรรบกวนทรัพย์สมบัติ คนในบังคับบัญชาอยู่ในโอวาทเป็นอันดี ไม่มีใคร
ดื้อด้าน มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอะไรเป็นนั่น มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ก็ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์
         ถ้าเห็นว่า มีปัญญาน้อย ไม่ใคร่ทันเพื่อน ก็พยายามเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน
พอมีฌานมีญาณเล็กน้อย ในชาติต่อไปก็จะเป็นคนมีปัญญาเลิศ

มรณานุสติกรรมฐาน


มรณานุสติกรรมฐาน         มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดา
ของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อมีความเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ความ
ตายนี้รู้สึกว่าเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ทั่วไป ท่านผู้อ่านจะสงสัยว่า เมื่อความตายเป็นของ
ธรรมดาที่ใคร ๆ ก็ทราบว่าตัวจะต้องตาย แล้วพระพุทธเจ้ามาสอนให้นึกถึงความตายเพื่อประโยชน์
อะไร ? ปัญหาข้อนี้ตอบไม่ยาก เพราะธรรมดาของคนที่มีกิเลสทั่วไป รู้ความตายว่าเป็นของธรรมดา
จริง แต่ทว่า เห็นว่าเป็นธรรมดาสำหรับผู้อื่นตายเท่านั้น ถ้าความตายจะเข้ามาถึงตนเองหรือญาติ
คนที่รักของตนเข้า ก็ดิ้นรนเอะอะโวยวายไม่ต้องการให้ความตายมาถึงตนหรือคนที่ตนรัก พยายาม
ทุกทางที่จะไม่ยอมตายปกติของคนเป็นอย่างนี้ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่ว่าใคร
จะหนีความตายไม่ได้ การดิ้นรน เอะอะโวยวายต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้เป็นการดิ้นรนเหนือ
ธรรมดาไม่มีทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไร ความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดา
เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความ
ตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดาไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ความตายนี้แบ่งออกเป็นสาม
อย่างด้วยกัน คือ

สติปัฏฐาน ๔

มิจฉาสมาธิ  ย่อมบังเกิดแก่ผู้มี มิจฉาสติ
สัมมาสมาธิ  ย่อมบังเกิดแก่ผู้มี สัมมาสติ
มิจฺฉาสติสฺส  มิจฺฉาสมาธิ  ปโหติ
สมฺมาสติสฺส  สมฺมาสมาธิ  ปโหติ
(อวิชชาสูตร ๑๙/๑)
         สติปัฏฐาน ๔ เป็นการปฏิบัติที่พระองค์ท่านตรัสว่าเป็นทางสายเอก(เอกายนมรรค)  เมื่อปฏิบัติอย่างดีงามย่อมเป็นเครื่องสนับสนุนให้โพชฌงค์๗องค์แห่งการตรัสรู้บริบูรณ์ ซึ่งยังให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ จึงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังที่ตรัสแสดงไว้อย่างแจ่มแจ้งในกุณฑลิยสูตร    ในการศึกษาการปฏิบัติทั้งหลายไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมก็ตามที ต่างล้วนต้องเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เสียก่อน กล่าวคือ ต้องมีปัญญาหรือวิชชาเป็นพื้นฐานบ้างเสียก่อน จึงเริ่มลงมือปฏิบัติ จึงถูกต้องดีงาม อันจักยังผลให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องแนวทาง  ดังนั้นจึงควรมีความเข้าใจด้วยการศึกษาธรรมให้เข้าใจจุดประสงค์อย่างถูกต้องด้วย  เพราะเป็นที่นิยมปฏิบัติกันโดยไม่ศึกษาให้ดีงามเสียก่อน  เริ่มต้นปฏิบัติก็มักเพราะเป็นทุกข์กำลังรุมเร้า หรือด้วยความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ได้ยินได้ฟังมาอยู่เนืองๆ ก็เริ่มปฏิบัติอานาปานสติหรือสติปัฏฐาน ๔ โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจเลย ดังนั้นแทนที่เป็นการฝึกสติ,ใช้สติชนิดสัมมาสติ กลับกลายเป็นการฝึกการใช้มิจฉาสติจึงได้มิจฉาสมาธิแบบผิดๆอันให้โทษ จึงเกิดขึ้นและเป็นไปตามพุทธพจน์ตามที่แสดงไว้ข้างต้น ดังเช่นการติดสุข คือสุขในวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษ,   จึงอุปมาเหมือนการเรียนเคมี โดยไปปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสียเลย ด้วยเข้าใจว่าไปเรียนไปศึกษาจากการปฏิบัติโดยตรงคงยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นเอง ด้วยเหตุดั่งนี้เอง จึงเกิดอุบัติเหตุการระเบิดขึ้นได้ด้วยความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง  จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีการเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เป็นพื้นฐานบ้างเสียก่อน จะได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องแนวทางสมดังพุทธประสงค์ คือสัมมาสติที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ อันเป็นสุขยิ่ง

กรรมฐาน 40

กรรมฐาน 40



กรรมฐาน 40 เป็นอุบาย 40 วิธีที่ใช้ฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ พอจิตกำหนดจับสิ่งนี้เข้าแล้ว จะชักนำให้จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งนี้ จนเป็นสมาธิได้มั่นคงและเร็วที่สุด ในคัมภีร์อรรถกถาและปกรณ์ ได้รวบรวมแสดงกรรมฐานไว้ 40 อย่าง คือ
กสิณ 10
ดูบทความหลักที่: กสิณ
แปลว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่ง เพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่งเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่าง คือ
  1. ภูตกสิณ 4 (กสิณคือมหาภูตรูป) ได้แก่ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ
  2. วรรณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ
  3. กสิณอื่นๆ ได้แก่ อาโลกกสิณ อากาสกสิณ
อสุภะ 10
ดูบทความหลักที่: อสุภะ
ได้แก่ การพิจารณาซากศพระยะต่างๆรวมกัน 10 ระยะ ตั้งแต่ศพเริ่มขึ้นอืด ไปจนถึงศพที่เหลือแต่โครงกระดูก
อนุสติ 10
คือ อารมณ์ดีงามที่ควรระลึกถึงเนืองๆ ได้แก่ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ มรณสติ กายคตาสติอานาปานสติ อุปสมานุสติ
อัปปมัญญา 4
คือ ธรรมที่พึงแผ่ไปในมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกันไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 คือ
  1. เมตตา คือ ปรารถนาดี มีไมตรีอยากให้มนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย มีความสุขทั่วหน้า
  2. กรุณา คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
  3. มุฑิตา คือ พลอยมีใจแช่มชื่นบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข และเจริญงอกงาม ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป
  4. อุเบกขา คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตาชั่ง มองเห็นมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย ได้รับผลดีร้าย ตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง
อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร
จตุธาตุววัฏฐาน
กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ
อรูป 4
กำหนดสภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก จนได้จตุตถฌานมาแล้ว กรรมฐานแบบอรูป มี 4 อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเรียนวิปัสสนากรรมฐาน

การเรียนวิปัสสนากรรมฐาน

การเรียนวิปัสสนากรรมฐานนั้น ต้องเรียนศีลและสมาธิจนปฏิบัติได้มาก่อน หรืออาจเรียนไปพร้อมกันก็ได้ ซึ่งอาจจัดช่วงของการเรียนตามมหาสติปัฏฐานสูตรอรรถกถาได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ คือ
  1. ช่วงปริยัตติ
    1. อุคคหะ คือ การท่อง เพื่อทำให้จำวิปัสสนาภูมิ อันได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อาหาร เป็นต้นได้ โดยเลือกท่องเฉพาะส่วนที่สนใจก่อนก็ได้และต้องจำให้คล่องปากขึ้นใจพอที่จะคิดได้เองโดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.
    2. ปริปุจฉา คือ การหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ได้รายละเอียดของวิปัสสนาภูมินั้น ๆ เพิ่ม ซึ่งอาจจะสงสัย หรือ ติดขัดอยู่ โดยอาจจะเปิดหนังสือค้น หรือไปสอบถามจากอาจารย์ผู้เชียวชาญชำนาญในสาขานั้น ๆ ก็ได้.
    3. สวนะ คือ การฟัง หรือ อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก เพื่อทำความเข้าใจหลักธรรมะโดยรวม ให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน.
    4. ธารณะ คือ การจำธรรมะ ตามที่ได้อุคคหะ ปริปุจฉา สวนะมาได้ เพื่อจะนำไปพิจารณาในช่วงปฏิบัติต่อไป.
  2. ช่วงปฏิบัติ
    1. สังวระ คือ การปฏิบัติศีล.
    2. สมาปัตติ คือ การปฏิบัติสมาธิให้ได้ อุปจาระหรืออัปปนา.
    3. สัมมสนะ คือ การปฏิบัติวิปัสสนา คือ พิจารณาปัจจัตตลักษณะและสามัญญลักษณะด้วยการคิดหน่วงเอาธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นมาแยกแยะหาความสัมพันธ์กันด้วยปัจจัตลักษณะ และเพ่งไตรลักษณ์ ในธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นอีก ด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัมมนิชฌานักขันติญาณ. ในที่นี้ เฉพาะสัมมสนะนี้เท่านั้นที่เป็นช่วงปฏิบัติวิปัสสนา.

อารมณ์วิปัสสนาภาวนา

อารมณ์ของวิปัสสนา

ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าและพระอรรถกถาจารย์ได้วางไว้ เราสามารถทราบอารมณ์ของวิปัสสนาได้ด้วยการไล่ตามวิถีจิตไปตามกฎเกณฑ์และตามหลักฐาน ซึ่งจะพบว่ามีทั้งปรมัตถ์และบัญญัตติเป็นอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อคิดถึงวิปัสสนาภูมิ เช่น ธรรมะ 201 เป็นต้นตอนที่ทำวิปัสสนาอยู่ ก็มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์, แต่เมื่อนึกถึงพระพุทธพจน์ เช่น ชื่อของธรรมะ 201 หรือ อาการของขันธ์เช่น ไตรลักษณ์ หรือ อิริยาบถต่างๆ เป็นต้น เป็นเครื่องกำหนด วิปัสสนาก็จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์.

วิปัสสนากรรมฐาน


วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้สติเป็นหลัก
วิปัสสนากรรมฐานบำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับ สมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก ในคัมภีร์ทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่ว ๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่ สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่าเป็นภาวนามยปัญญา[ต้องการอ้างอิง] ได้อีกด้วย เพราะในฎีกาหลายที่ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุข้อ 10.